วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คุณธรรมบนโลกไซเบอร์

เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology:ICT) นับว่ามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน และถือเป็นหัวใจสำคัญแห่งพลังขับเคลื่อนในการผลักดันประเทศเข้าสู่สังคมโลกา ภิวัตน์ซึ่งมีพื้นฐานแห่งการระดมสมอง ภูมิปัญญาและการเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่งกล่าวถึงอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และมีประสิทธิภาพสูง จึงสามารถช่วยแบ่งเบากิจกรรมนานาชนิดในการดำเนินชีวิตประจำวันแห่งมนุษย์ ชาติในปัจจุบัน โดยประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยส่วนใหญ่ มีอายุเฉลี่ยประมาณ 20-30 ปี แต่กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 20 เป็นกลุ่มผู้ใช้ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นรวดเร็วที่สุด
การที่เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมในปัจจุบันมีการบูรณาการจนเกิด สภาพที่เรียกว่าพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberspace) และโลกเสมือนจริง (Virtual World) รวมถึงสภาพสังคมในปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะเห็นว่ามี ปัญหาต่างๆมากมายที่เกิดตามมาจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต เช่น การฉ้อโกง การล่อลวงทางเพศ อาชญากรรมทางธุรกิจ โดยผู้กระทำผิดดำเนินการผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเด็นสำคัญคือความรุนแรง หรือผลกระทบรวมถึงวิธีการป้องกัน ดูเหมือนจะทวีคูณกว่าช่องทางอื่น เนื่องจากช่องทางที่แทรกผ่านสู่โลกไซเบอร์นั้นมีกลไกที่สลับซับซ้อนจับต้อง ไม่ได้เป็นรูปธรรม
1. Spam Email และ Malicious Email content คงปฏิเสธไม่ได้ว่า อีเมลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในการทำงานไปแล้ว ปัญหาก็คือ บรรดาผู้ไม่หวังดีได้ใช้อีเมลเป็นเครื่องมือในการส่งข้อมูลที่มีอันตรายให้ กับเรา และองค์กร เช่น มัลแวร์ หรือโปรแกรมมุ่งร้ายในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะมาทางแอทแทชไฟล์ หรือมาในรูปแบบของเนื้อหาล่อลวงในอีเมลบอดี้
2. สปายแวร์ (Spy Ware) ผลการวิจัย เรื่องสปายแวร์ระบุว่า 80% ของคอมพิวเตอร์พีซีทั่วโลกติดสปายแวร์ แม้กระทั่งมีการติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส ประเด็นปัญหาคือโปรแกรมสปายแวร์ ไม่ใช่โปรแกรมไวรัสดังนั้นจึงไม่สามารถป้องกันได้
3. มัลแวร์ (Mal ware) มัลแวร์ ก็คือ Malicious Software หรือโปรแกรมมุ่งร้ายที่มาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ActiveX หรือ Java Applet ที่มากับการใช้งาน Internet Browser โดยไม่ได้รับการติดตั้ง Patch หรืออาจมาในรูปของ Attached File ที่อยู่ในอีเมล ตลอดจนแฝงมากับโปรแกรมแชร์แวร์ หรือ โปรแกรม Utility หรือโปรแกรม P2P ที่เรานิยมใช้ในการดาวน์โหลดเพลง หรือภาพยนตร์ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรแกรม Mal ware อาจจะเป็น SpyWare, Trojan Horse, Key logger หรือ Viruses และ Worm ที่เรารู้จักกันดี
4.ภัยจากการล่อลวงโดยวิธี Phishing และ Pharming "Phishing" อ่านออกเสียงว่า "Fishing" หมายถึง การตกปลา เราอาจตกเป็นเหยื่อของการตกปลา ถ้าเราเผลอไปกับเหยื่อที่เหล่า "Phisher" หรือผู้ไม่หวังดีล่อไว้ ซึ่งวิธีการของผู้ไม่หวังดีก็คือการส่งอีเมลปลอมแปลง ชื่อคนส่ง และชื่อเรื่องตลอดจนปลอมแปลงเนื้อหาในอีเมลให้ดูเหมือนจริง เช่น ส่งอีเมลมาบอกเราว่า มาจากธนาคารที่เราติดต่ออยู่เป็นประจำแล้วบอกให้เรา Login เข้าใช้งาน Internet Banking ถ้าเผลอคลิกโดยไม่ระมัดระวัง ก็จะเข้าไปติดกับดักที่ Phisher วางไว้
5.ภัยจากแฮคเกอร์ และ Google Hacking Method ปัจจุบันการแฮกไปยังเวบ แอพพลิเคชั่นนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปแล้ว โดยมีการอาศัย Google.com เป็นช่องทางค้นหาเวบไซต์ที่มีช่องโหว่ ซึ่งสามารถแฮกและเนื่องจาก Google hacking นั้นจะเป็นการ hacking แบบไม่เลือกเหยื่อ ดังนั้นทุกเวบไซต์ที่มีช่องโหว่ที่ Google เห็นจึงล้วนแล้วแต่มีโอกาสถูกแฮกเท่าๆ กันทั้งสิ้น

ปัญหาผลกระทบที่เสีย หายต่อบุคคลและสังคมจากเว็บไซต์คุณธรรม จริยธรรม มีดังนี้
ผลกระทบต่อบุคคล
ทำให้บุคคลขาด ทักษะในการบริหารจัดการ และใช้งานระบบสารสนเทศใหม่ๆ อาจเกิดความ เครียดตลอดจนขาดความมั่นใจ ในการทำงานกับสารสนเทศที่ตนเองไม่เคยชิน จนกระทั่งบางครั้งอาจลุกลามไปสู่การต่อต้านจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเคยชินกับระบบการทำงานด้วยเทคโนโลยีเดิม ๆ




ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การขยายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ขีดความสามารถในการใช้งาน เพิ่มขึ้นขณะเดียวกันก็มีราคาถูกลง มีการประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง จนกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคนไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยในอดีต สหรัฐฯ เป็นประเทศเกษตรกรรม มีผลผลิตทางด้านการเกษตรเป็นสินค้าหลัก ต่อมา เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตเป็นประเทศอุตสาหกรรม ปริมาณสัดส่วนของสินค้า ด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และในปัจจุบันโครงสร้างการผลิตของสหรัฐฯ เน้นไปที่ธุรกิจการให้บริการ และการใช้สารสนเทศกันมาก ทำให้สัดส่วนการผลิตสินค้า เกษตรลดลงไม่ถึง 5% ของสินค้าทั้งหมด ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมก็มีมูลค่าน้อยกว่า อุตสาหกรรมบริการ ซึ่งใช้ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลัก หากมองภาพการใช้คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารทั่วไปของโลก ปัจจุบันมูลค่า ของสินค้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งประเทศที่พัฒนา แล้ว 10 ประเทศมีสัดส่วนการใช้คอมพิวเตอร์มากถึงกว่า 90% ของปริมาณการใช้ คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ประเทศที่พัฒนาแล้ว 10 อันดับ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก และแอฟริกาใต้ ถ้าพิจารณาบริษัทผู้ผลิตสินค้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศพบว่า ประเทศผู้ผลิต เพื่อส่งออกขายมีเพียงไม่กี่ประเทศ ประเทศเหล่านี้ส่วนมากมีเทคโนโลยีของตนเองมี การค้นคิด วิจัยและพัฒนาสินค้าให้ก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา จากความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสาร ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ มี ขนาดเล็กลง แต่มีความสามารถเพิ่มขึ้น และมีราคาถูกลงจนผู้ที่สนใจสามารถหาซื้อมา ใช้ได้ จนแทบกล่าวได้ว่าบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีส่วนในทุกบ้าน เพราะเครื่องใช้อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารอยู่ด้วยเสมอ
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารได้สร้างประโยชน์ อย่างใหญ่หลวงต่อวงการทางธุรกิจ ทำให้ทุกธุรกิจมีการลงทุน ขยายขอบเขตการให้บริการ โดยใช้ระบบสารสนเทศกันมากขึ้น กลไกเหล่านี้ทำให้โอกาสการขยายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศ กว้างขวางเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้สังคมโลกเป็นสังคม แบบไร้พรมแดน การใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ตมีอัตราการขยายตัว สูงมาก จนกล่าวได้ว่าเป็นอัตราการขยายตัวแบบทวีคูณ จนเชื่อแน่ว่าภายในระยะเวลาอีก ไม่นาน ผู้คนบนโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้หมด
ผลกระทบในทางบวก
ผลกระทบในทางบวกหากย้อนยุคไปในอดีตตั้งแต่การประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ขึ้น เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง คอมพิวเตอร์ในยุคแรกเน้น การออกแบบเพื่อเป็นเครื่องจักรช่วยคำนวณเพื่อให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่มี ความยุ่งยากซับซ้อนทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นคอมพิวเตอร์เครื่องแรก ๆ ของโลกส่วน ใหญ่สร้างในมหาวิทยาลัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ การ นำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณทำให้เกิดการค้นคว้าทางวิชาการ เช่น การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การแก้สมการหลาย ๆ ชั้นที่มีตัวแปรจำนวนมาก การนำ คอมพิวเตอร์ไปใช้ในการคำนวณทางสถิติ ช่วยทำให้การสำรวจสำมะโนประชากรทำ ได้รวดเร็ว การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณทำให้เกิด การพัฒนาซอฟต์แวร์ตัวแปล ภาษาที่เน้นการคำนวณเป็นหลัก เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาเบสิก การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการคำนวณยังคงดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะงานคำนวณในปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น การคำนวณมวล ของอากาศที่เคลื่อนไหวบนผิวโลก ทำให้เกิดการ พยากรณ์อากาศล่วงหน้าได้ ในช่วงหลังจากปี พ.ศ. 2500 การดำเนินงานในวงการธุรกิจต้องการใช้เครื่องจักร ช่วยมากขึ้น คอมพิวเตอร์ในยุคนี้มาเน้นในเรื่องการประมวลผลข้อมูล (data processing) การประมวลผลข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาทำให้เป็นสารสนเทศ มีการพัฒนาตัว แปลภาษาที่เหมาะสมกับงานประมวลผลข้อมูล ได้แก่ ภาษาโคบอลเป็นภาษาที่เหมาะ กับการประยุกต์ใช้งานการประมวลผลข้อมูลและยังคงนิยมต่อมา
งานทางด้านธุรกิจส่วนใหญ่มุ่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผลข้อมูลที่มี จำนวนมาก เช่น ช่วยคำนวณสถิติข้อมูลของบริษัท ช่วยจัดการเรื่องข้อมูลบัญชี ข้อมูลสินค้าคงคลัง และวัตถุดิบ การติดตามและการเรียกเก็บหนี้สินต่างๆ คอมพิวเตอร์ ยังมีประโยชน์อย่างใหญ่หลวงในวงการธุรกิจ หลังจากที่บริษัทอินเทลได้สร้างไมโครโพรเซสเซอร์สำเร็จในปี พ.ศ. 2518 การใช้งานคอมพิวเตอร์ก็เข้ามามีบทบาทในธุรกิจขนาดเล็ก และในที่สุดก็มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ยุคของการ ประมวลผล ก็ก้าวมาสู่ยุคงานสารสนเทศมีการมอง ระบบข้อมูลในรูปแบบการใช้งานที่กว้างขวางกว่าเดิม มีระบบการประมวลผลแบบเชื่อมตรงเรียกค้นข้อมูลที่ ตอบโต้ได้ทันที ผู้ใช้คอมพิวเตอร์พบว่าสารสนเทศที่ได้จากการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อ คำนวณ แยกแยะ จัดการกับข้อมูลมีประโยชน์อย่างยิ่งในเรื่องการวางแผน การจัดการ การควบคุมงานในหน่วยงานของตน ทำให้ผู้บริหารได้ประโยชน์จากการใช้ข้อมูลในการ วางแผนแข่งขันกับหน่วยงานอื่นได้ การพัฒนาระบบสารสนเทศจึงแพร่กระจายไปใน องค์การเพื่อให้องค์การมีระบบการจัดการที่ใช้ข้อมูลอย่างเต็มที่
ต่อมาในระยะหลังปี พ.ศ. 2530 พบว่าระบบสารสนเทศ มีประโยชน์มาก แต่มีจุดอ่อนบางประการ เช่น สารสนเทศ ทั้งหลายที่ได้มาจากข้อมูลนั้น ยังไม่สามารถช่วยผู้บริหารตัดสิน ใจได้โดยตรง จึงเกิดความต้องการให้ได้ระบบที่ช่วยเสริมการ ทำงานของผู้บริหาร ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร มีลักษณะการรวบความรอบรู้ เกิดการประมวลผลความรอบรู้ อย่างไรก็ดี แม้จะมีการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์ช่วยงานต่าง ๆ ได้มากแล้วก็ตาม แต่ก็ยังต้องพัฒนาให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้นอีก พัฒนาการของคอมพิวเตอร์ช่วยให้การทำงานของมนุษย์ดีขึ้น ทำให้มนุษย์สามารถนำความรู้และ ประสบการณ์ต่าง ๆ มารวมไว้เป็นหมวดหมู่ วิวัฒนาการ เหล่านี้ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมอย่างมากมาย ซึ่งมีผู้กล่าวว่า สังคมโลกกำลังอยู่ในยุคของการปฏิวัติ ครั้งที่ 3 ครั้งแรกเกิดเมื่อมนุษย์คิดค้นวิธีการทางการ เกษตรสามารถปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเปลี่ยนการเร่ร่อน ของมนุษย์ให้มาตั้งถิ่นฐานเพื่อทำการเกษตร ต่อมาเกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมทำให้ เกิดระบบการผลิตและเกิดโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นมากมาย มีการรวมกลุ่มเป็นสังคมเมือง และปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่ยุคสารสนเทศ ซึ่งเห็นได้ชัดจากการสื่อสารที่ให้ข่าวสาร อย่างรวดเร็ว จนทำให้โลกมีลักษณะไร้พรมแดน ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคมในทางบวกหรือทางที่ดีมีดังนี้
1. ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มี ประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้มนุษย์มีเวลาว่างเพื่อใช้ ในทางที่เกิดประโยชน์มากขึ้น มีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ให้ติดต่อกันได้สะดวก มีระบบคมนาคมขนส่งที่ รวดเร็วสามารถใช้โทรศัพท์ในขณะเดินทางไปมายังที่ต่าง ๆ มีอุปกรณ์ช่วยอำนวยความ สะดวกที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น ลิฟต์ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องช่วย ให้เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ มีรายการให้เลือกชมได้มากมาย มีการ แพร่กระจายสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ทำให้ผู้ชมสามารถรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ จาก ทั่วทุกมุมโลกได้อย่างรวดเร็วเหมือนอยู่ในเหตุการณ์
2. ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น การผลิตสินค้าในปัจจุบันต้องการผลิตสินค้าจำนวนมาก มีคุณภาพมีมาตรฐาน ซึ่ง ในปัจจุบันใช้เครื่องจักรทำงานอย่างอัตโนมัติ สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง สินค้าที่ได้มีคุณภาพและปริมาณพอเพียงกับความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบันมีความ พยายามที่จะสร้างหุ่นยนต์ให้เข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น การผลิตรถยนต์

3. ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ช่วยให้งานค้น คว้าวิจัยในห้องปฏิบัติการวิจัยต่าง ๆ มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์ช่วยงานคำนวณ ที่ซับซ้อน ซึ่งแต่ก่อนยากที่จะทำได้ เช่น งานสำรวจทางด้านอวกาศ งานพัฒนาคิดค้ผลิตภัณฑ์และสารเคมีต่างๆ ทำให้ได้สูตรยา รักษาโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ปัจจุบันงาน ค้นคว้าวิจัยทุกแขนงจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยในการคำนวณต่างๆ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ในการจำลองรูป แบบของสิ่งที่มองไม่เห็นตัว ใช้ในการค้นหา ข้อมูลที่มีจำนวนมากและแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก สามารถค้นหารายงานวิจัยที่มีผู้เคยทำ ไว้แล้วและที่เก็บไว้ในห้องสมุดต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว งานวิจัยต่าง ๆ มีความก้าวหน้า ยิ่งขึ้น เพราะเทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่อย่างมาก
4. ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้กิจการด้านการ แพทย์เจริญก้าวหน้าขึ้นมาก เครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ล้วนแล้ว แต่ใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยในการดำเนินการ ช่วยในการแปลผล มีเครื่อง ตรวจหัวใจที่ทันสมัย เครื่องเอกซเรย์ภาคตัดขวางที่ สามารถตรวจดูอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่าง ละเอียด มเครื่องมือตรวจค้นหาโรคที่ทันสมัย หรือแม้แต่การผ่าตัดก็มีเครื่องมือช่วย ในการผ่าตัดที่ทำให้คนไข้ปลอดภัยยิ่งขึ้น มีเครื่องคอยวัดและตรวจสอบสภาพการเปลี่ยน แปลงของร่างกายอย่างละเอียด ระบบการรักษาพยาบาลจากที่ห่างไกล เช่น คนไข้ อยู่ที่จังหวัดชายแดนและขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง แพทย์ผู้ทำการรักษาสามารถส่ง คำถามปรึกษากับแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะได้ มีการรวบรวมความรู้ของแพทย์ผู้ชำนาญ การจัดสร้างเป็นฐานความรอบรู้ เพื่อใช้ประโยชน์ได้กว้างขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา เครื่องมือช่วยคนพิการต่าง ๆ เช่น การสร้างแขนเทียม ขาเทียม การสร้างเครื่องกระตุ้น หัวใจ สร้างเครื่องช่วยฟังเสียง หรือมีการพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกถ่ายอวัยวะสำคัญต่าง ๆ รวมทั้งการผลิตยา และวัคซีนสมัยใหม่ด้วย
5. ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์ คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นที่สามารถทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำ สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้มาก การแก้ปัญหาที่ ซับซ้อนบางอย่างกระทำได้ดี และรวดเร็ว งานบางอย่างถ้า ให้มนุษย์ทำอาจต้องเสียเวลา ในการคิดคำนวณตลอดชีวิต แต่คอมพิวเตอร์สามารถทำงาน เสร็จภายในเวลาไม่กี่ วินาที ดังนั้นจึงมีการนำคอมพิวเตอร์ มาจำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้มนุษย์หาทางศึกษาหรือแก้ไขปัญหาเช่น การจำลอง สภาวะของสิ่งแวดล้อม การจำลองระบบมลภาวะ จำลองการไหลของของเหลว การควบ คุมระบบการจราจร หรือแม้แต่การนำเอาคอมพิวเตอร์มาจำลองในสภาพที่เหมือนจริง เช่น จำลองการเดินเรือ จำลองการขับเครื่องบิน การขับรถยนต์ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ เหมือนจริงได้ หากมีการผิดพลาดก็ไม่ทำให้เกิดอันตราย คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือ ที่ช่วยในการเรียนรู้ของมนุษย์ได้ดี ปัจจุบันมีการนำบทเรียนมาไว้ในคอมพิวเตอร์เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI)และคอมพิวเตอร์ยังเป็นเครื่องมือให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา สมัยใหม่เชื่อมโยงติดต่อทางอินเทอร์เน็ต สามารถเรียก ค้นข้อมูลข่าวสารผ่านทางเครือข่าย สามารถเรียนรู้การใช้ คอมพิวเตอร์หรือเรียนจากที่ห่างไกลได้ ถือเป็นหนทางที่ทำให้เกิดสติปัญญาอย่างแท้จริง
6. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง เทคโนโลยีจำเป็นต่ออุตสาหกรรม กิจการค้า ธุรกิจต่าง ๆ กิจการทางด้านธนาคาร ช่วยส่งเสริมงานทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้กระแส เงินหมุนเวียนได้อย่างกว้างขวาง ผู้ผลิตในสายอุตสาหกรรม จะผลิตสินค้าได้มาก ลดต้นทุน ผู้บริโภคก็มีกำลังในการจับ จ่ายใช้สอยมาก ธุรกิจโดยรวมจำเป็นต้องอาศัยการแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน มีการสื่อสารเกี่ยวข้องกัน เกิด ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
7. ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน การสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ช่วยย่นย่อโลกให้เล็กลง โลกมีสภาพไร้พรมแดน มีการเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกันมากขึ้น เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ทำให้ลดปัญหาใน เรื่องความขัดแย้ง สังคมไร้พรมแดนทำให้มี ความเป็นอยู่แบบรวมกลุ่มประเทศมากขึ้น
8. ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกระจายข่าวสาร เพื่อให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของกระจายระบบ ประชาธิปไตย แม้แต่การเลือกตั้งก็มีการใช้คอมพิวเตอร์รวมผล คะแนน ใช้สื่อโทรทัศน์วิทยุแจ้งผลการนับคะแนนที่ทำให้ทราบ ผลได้รวดเร็ว
ผลกระทบในทางลบ
ผลกระทบในทางลบ นับตั้งแต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีเป็นไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีไปใน ด้านต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนย่อมต้องมีทั้งคุณและโทษ ภาพยนตร์หลายเรื่องได้ สะท้อนความคิดของการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในทางลบ ผลกระทบ ในทางลบเหล่านี้บางอย่างเป็นเพียงการคาดคะเนยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง แต่ อย่างไรก็ตามย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ผลกระทบในทางลบ มีดังนี้
1. ทำให้เกิดอาชญากรรม เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการก่อให้เกิดอาชญากรรมได้ โจรผู้ร้ายใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนการปล้น วางแผนการ โจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร มีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเลข บัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ การลอบเข้าไปแก้ไขข้อมูลอาจทำให้เกิดปัญหาหลาย อย่าง เช่น การแก้ไขระดับคะแนนของนักเรียน การแก้ไขข้อมูลในโรงพยาบาล เพื่อให้การรักษาพยาบาลคนไข้ผิด ซึ่งเป็นการทำร้ายหรือฆาตกรรมดังที่เห็นใน ภาพยนตร์
2. ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเห็นตัว การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกมที่มี ลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง ผลกระทบนี้ทำให้มีความเชื่อว่า มนุษยสัมพันธ์ของบุคคลจะน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยกันมาก
3. ทำให้เกิดความวิตกกังวล ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวลว่าคอมพิวเตอร์อาจทำให้คนตกงานมากขึ้น มีการใช้งานหุ่นยนต์ มาใช้งานมากขึ้น มีระบบการผลิตที่อัตโนมัติมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้ แรงงานอาจว่างงานมากขึ้น ซึ่งความคิดเหล่านี้จะเกิดกับบุคคล บางกลุ่มเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลเหล่านั้นสามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี หรือมีการพัฒนา ให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้นแล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น
4. ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัย เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสาร ทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล เช่น ข้อมูลลูกหนี้การค้า ข้อมูลสินค้า และบริการ ต่าง ๆ หากเกิดการสูญหายของข้อมูล อันเนื่อง มาจากเหตุอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือ ด้วยสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้ข้อมูลหายย่อมทำ ให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง
5. ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมากขึ้น ประเทศที่เป็นต้นตำรับของเทคโนโลยี สามารถนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ ในการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูง ทำให้หมิ่นเหม่ต่อสงครามที่มี การทำลายสูงเกิดขึ้น
6. ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด การนำมาใช้ ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญดังเช่น การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีผู้สร้างโฮมเพจหรือสร้างข้อมูลข่าว สารในเรื่องภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ภาพอนาจาร หรือภาพที่ทำให้ ผู้อื่นเสียหาย นอกจากนี้ยังมีการปลอมแปลงระบบจดหมาย เพื่อส่ง จดหมายถึงผู้อื่นโดยมีเจตนากระจายข่าวที่เป็นเท็จ ซึ่งจริยธรรมการ ใช้งานเครือข่ายเป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังกันมาก






วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ระบบสารสนเทศและการประยุกต์ใช้งาน

ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบ หรือข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อาจเป็นข้อมูลที่แทนด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ที่แทนปริมาณหรือการกระทำต่างๆ ซึ่งยังไม่ผ่านการกลั่นกรองหรือประมวลผล อาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร ข้อความ ภาพ และเสียง เป็นต้น คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องเชื่อถือได้ ทันต่อความต้องการใช้งาน ตรงตามความต้องการใช้งาน มีปริมาณกะทัดรัด และสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ข้อมูลต่างๆ ที่ผ่านการกลั่นกรองหรือประมวลผลแล้ว เป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ตามความต้องการได้

สารสนเทศ (Information) หมายถึง
          การประมวลผลข้อมูล ( Data Processing ) สามารถจำแนกวิธีการประมวลผลตามลักษณะเครื่องมือ
ที่ใช้ได้ 3 วิธี คือ 
         1. การประมวลผลด้วยมือ ( Manual Data Processing ) เป็นวิธีดั้งเดิม วิธีการประมวลผล
ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณไม่มาก และไม่เร่งด่วน มีการนำอุปกรณ์ธรรมดามาช่วย เช่น การใช้ลูกคิด
กระดาษ ปากกา
         2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล ( Mechanical Data Processing) เป็นวิธีการประมวลผลที่อาศัย
เครื่องจักรกลมาทำงานร่วมกับอุปกรณ์สำหรับการประมวลผลด้วยมือ เช่น เครื่องทำบัญชี
         3. การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Processing ) เป็นวิธีการที่นิยมใช้ใน
ปัจจุบัน ซึ่งนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประมวลผล เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณมาก ต้องการความรวดเร็ว ถูกต้อง
         · งานที่มีปริมาณมาก
         · งานที่ต้องการความรวดเร็ว
         · งานที่ต้องการความถูกต้อง
         · งานที่ต้องการความปลอดภัยของข้อมูล
         · งานที่มีความซับซ้อนในการคำนวณ
         · งานที่มีขั้นตอนและรูปแบบการทำงานซ้ำๆ

สำหรับการประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ

            การประมวลผลแบบแบทซ์ ( Batch Processing )
เป็นวิธีที่ต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูลตามช่วงเวลาที่กำหนด ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการประมวลผล วิธีนี้จะไม่มีการโต้ตอบกัน (Interactive)ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ จึงเรียกวิธีการประมวลผลแบบนี้ว่า ออฟไลน์ (off-line) เช่น ระบบการคิดดอกเบี้ยทบต้นทุก 3 เดือน หมายถึง หากยังไม่ถึงกำหนด 3 เดือน จะไม่มีการคิดดอกเบี้ยให้ 
ข้อดี
เหมาะสำหรับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีปริมาณงานมาก แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลทันที
ง่ายต่อการตรวจสอบ ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ง่าย
ข้อเสีย
ข้อมูลที่ได้ไม่ทันสมัย เนื่องจากมีกำหนดระยะเวลาในการประมวลผล
เสียเวลาในการรวบรวมข้อมูล

            การประมวลผลแบบอินเทอร์แอคทีฟ ( Interactive Processing )
เป็นวิธีที่ไม่ต้องรอเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อคอมพิวเตอร์ระบข้อมูลเข้าสู่ระบบก็จะทำการประมวลผลและให้ผลลัพท์ได้ทันที วิธีนี้ผู้ใช้และคอมพิวเตอร์จะมีการโต้ตอบกัน จึงเรียกวิธีการประมวลผลแบบนี้ว่า ออนไลน์ (on-line) เช่น การถอนเงินจากเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) เมื่อมีการถอนเงิน ยอดเงินในบัญชีจะมีการเปลี่ยนแปลงทันที
                ข้อดี                      
                สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่นำเข้าไปได้ทันที
                 • ข้อมูลที่ได้ทันสมัย
                ข้อเสีย                    
                มีโอกาสที่เกิดความผิดพลาดได้
                 • การแก้ไขข้อผิดพลาดทำได้ยาก
         เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology - IT) หมายถึง เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และการเผยในรูปแบบต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยเทคดนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม แพร่สารสนเทศ

         ระบบสารสนเทศ หมายถึง การไหลของข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กรอย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และการนำเสนอสารสนเทศ
กิจกรรมของระบบสารสนเทศพื้นฐานมี 3 ชนิด คือ Input , Process และ Output การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนข้อมูลดิบที่เข้ามาทางด้าน Input โดยผ่านการประมวลผลหรือการกลั่นกรองให้เป็นสารสนเทศที่ออกมาทาง Output ผลลัพธ์ที่ได้จาก Output จะย้อนกลับไปยัง Input เพื่อให้มีการประเมินผลการทำงานต่อไป

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ได้แก่ องค์กร, เทคโนโลยี และ ข้อมูลหรือสารสนเทศ


ความจำเป็นของระบบสารสนเทศ
ข้อมูล ข่าวสารเป็นหัวใจหลักของการดำเนินงานในทุกๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจ การศึกษา หรือบริหารประชาชน ซึ่งบุคลากรของแต่ละองค์กรก็มีความต้องการใช้สารสนเทศที่แตกต่างกัน ได้แก่
          ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager) เช่น ปลัดกระทรวง อธิบดี ประธานบริษัท มีหน้าที่กำหนดทิศทาง วิสัยทัศน์ นโยบายขององค์กร รวมทั้งการวางแผนในระยะยาว มักมีความต้องการสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์กรโดยสรุปของสภาพในอดีต ปัจจุบัน ตลอดจนแนวโน้มในอนาคต
ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Manager) เช่น ผู้อำนวยการ อธิการบดี มีหน้าที่รับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมาวางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ มักมีความต้องการสารสนเทศที่ค่อนข้างละเอียดของสภาพในอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต
ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operation Manager) เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ มีหน้าที่ดูแลควบคุมด้านการปฏิบัติงาน มักมีความต้องการสารสนเทศเฉพาะด้านที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน
         
         การใช้สารสนเทศของผู้บริหารในระดับต่างๆ ก็เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของการตัดสินใจออกได้ 3 ประเภท คือ
1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structure Decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับงานที่ทำเป็น
ประจำ (Routine) มักมีหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาที่กำหนดขึ้นอย่างชัดเจน
2. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Decision) เป็นการตัดสินใจกับงานที่ไม่ได้
เกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอกองค์กร
3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Decision) เป็นการตัดสินใจที่อยู่ระหว่าง
การดัดสินใจแบบที่ 1 และแบบที่ 2

ระดับผู้บริหารในองค์กร ( Manager Level ) แบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้
         1. ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager) ดูแลกำหนดทิศทางขององค์กร ด้านวิสัยทัศน์ นโยบาย เป็นการวางแผนในระยะยาว จะใช้การตัดสินใจในระดับกลยุทธ์ (Strategic planning ) 
         2. ผู้บริหารระดับกลาง ( Middle Manager ) รับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมาวางแผน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ จะใช้การตัดสินใจในระดับยุทธวิธี (Practical planning ) 
         3. ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational Manager) รับผิดชอบดูแลควบคุมด้านการปฏิบัติงานรายวัน โดยรับแผนปฏิบัติมาจากผู้บริหารระดับกลาง จะใช้การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ (Operational planning ) 
        
         * บทบาทการตัดสินใจของผู้บริหารเป็นจุดสำคัญสำหรับองค์กร ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนและตัดสินใจสำหรับปัญหารูปแบบต่าง ๆ เครื่องมือนั้นคือ "สารสนเทศที่ถูกต้อง ชัดเจนและรวดเร็ว"  

          ประเภทของระบบสารสนเทศ
1. ระบบประมวลผลรายการ ( Transaction Processing System : TPS )  
2. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ( Office Automation System : OAS) 
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( Management Information System : MIS ) 
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System : DSS )
5. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ( Executive Support System : ESS )
6. ระบบผู้เชี่ยวชาญและปัญญาประดิษฐ์ ( Expert System and Artificial Intelligence : ES & AI)

          ระบบประมวลผลรายการ ( Transaction Processing System : TPS ) 
ช่วยให้ผู้บริหารทำการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงข้อมูลในกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร โดยจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์เปื่อเครื่องมือช่วยในการประมวลผลเพื่อความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน เช่น การคำนวณ การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับข้อมูล การจัดเก็บและการค้นคืนข้อมูล เป็นต้น

          ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ( Office Automation System : OAS) 
เป็นระบบที่ออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับอุปกรณ์ต่างๆ ของสำนักงาน เพื่อประโยชน์ในการใช้งาน ระบบสำนักงานอัตโนมัติประกอบด้วย
          · ระบบจัดการเอกสาร
          · ระบบจัดการด้านข่าวสาร
          · ระบบประชุมทางไกล
          · ระบบสนับสนุนสำนักงาน

         ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( Management Information System : MIS ) 
เป็นระบบที่สนับสนุนให้การทำงานสำนักงานของผู้บริหารทั้ง 3 ระดับ โดยเน้นการเตรียมรายงานสรุปให้กับผู้บริหารระดับต่างๆ สารสนเทศที่ได้รับมักมาจากระบบ TPS นำมาสรุปให้อยู่ในรูปของรายงาน กราฟ ในรูปแบบที่ง่ายต่อการวิเคราะห์ พิจารณา เพื่อให้ผู้บริหารใช้วางแผนและกำหนดนโยบายต่อไป เช่น การรายงานยอดขาย รายงานสินค้าคงคลัง เป็นต้น
          ลักษณะของระบบ MIS ที่ดี
       · สนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
       · ใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ในองค์การ
       · ช่วยให้ผู้บริการระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามต้องการ
       · มีความยืดหยุ่นสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
       · ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูลและจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

           ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System : DSS )
         เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบ MIS เนื่องจากในบางกรณีองค์ประกอบในการตัดสินใจมีความซับซ้อนมากเกินกว่าความสามารถในการประมวลผลของมนุษย์ ที่จะประมวลผลได้อย่างถูกต้องจึงทำให้เกิดระบบ DSS ซึ่งเป็นระบบที่สามารถกำหนดทางเลือกให้ผู้บริหาร หรืออาจมีการจัดลำดับทางเลือกให้กับผู้บริหาร ระบบ DSS เป็นระบบที่สามารถโต้ตอบได้ นอกจากนี้ยังมีโมเดลในการวางแผนตัดสินใจและการทำนาย ข้อมูลที่ใช้มักได้มาจากระบบ TPS, MIS และข้อมูลภายนอกองค์กร

          ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง ( Executive Support System : ESS )
เป็นระบบ DSS ที่ออกแบบให้ใช้เฉพาะกับผู้บริหารระดับสูง เป็นระบบที่เข้ามาช่วยให้ข้อมูล ข่าวสาร การนำเสนอสารสนเทศ ระบบสามารถโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้กับระบบ ทำให้ใช้งานได้สะดวก ข้อมูลที่ใช้มาทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร นำมาสรุปให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถตรวจสอบได้

          ระบบผู้เชี่ยวชาญและปัญญาประดิษฐ์ ( Expert System and Artificial Intelligence : ES & AI) 
เป็นระบบที่รวบรวมความรู้ในสาขาต่างๆ ของผู้เชี่ยวชาญไว้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์หาเหตุผลของผู้เชี่ยวชาญ เช่น ระบบินิจฉัยโรคด้วยคอมพิวเตอร์
การประยุกต์ใช้งาน AI มี 4 ระบบ คือ
          1. ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถในการให้เหตุผล การให้คำ
แนะนำแก่ผู้ที่ต้องตัดสินใจ
          2. ภาษาธรรมชาติ เป็นการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจภาษามนุษย์ เป็นการประยุกต์
ศาสตร์คอมพิวเตอร์ และภาษาศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยหาวิธีให้คอมพิวเตอร์เข้าใจความหมายของประโยค หรือ
คำต่างๆ
          3. ความสามารถในการจำลองประสาทสัมผัสของมนุษย์ เป็นการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่มี
ความสามารถเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น การพูด การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส เป็นต้น
          4. ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ เป็นการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานร่วมกับหุ่นยนต์เพื่อมาทำงานแทนมนุษย์

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางธุรกิจ

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยอาศัยบริการ EDI และ E-mail ซึ่งเป็นบริการที่อาศัยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ข้อดีของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค ได้แก่ การซื้อสินค้าได้โดยไม่ต้องเบียดเสียดกับผู้คนต่างๆ สามารถซื้อสินค้าได้ตลอดเวลาที่ต้องการ และสามารถซื้อสินค้าได้ทุกทีไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน 

การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์( Electronic Data Interchange : EDI) 
          การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ คือ การสื่อสารข้อมูลในรูปแบบมาตรฐานหรือรูปแบบที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อนำไปดำเนินการทางธุรกิจ โดยส่งผ่านเครือข่ายสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ ดาวเทียม เป็นต้น การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีประโยชน์อย่างมากในการทำการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะช่วยลดค่าใช้จ่าย ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว และช่วยลดงานด้านเอกสาร